โรโบซิลินเดอร์แบบแรงผลักสูงพิเศษถูกนำไปใช้กับเครื่องตอกในกระบวนการประกอบชิ้นส่วนรถยนต์
โดยประกอบค้อนเข้ากับปลายทั้งสองข้างของกระบอกแล้วทำการตอก ที่ผ่านมาใช้ระบบแรงดันลม + กระบอกไฮดรอลิกชนิดเร่งแรงดัน แต่เนื่องจากชิ้นงานมี 3 ประเภท เมื่อมีการเปลี่ยนจะต้องวุ่นวายกับการเซ็ตจิ๊กใหม่ทุกครั้ง
ครั้งนี้เมื่อนำโรโบซิลินเดอร์มาใช้ การเปลี่ยนจิ๊กจึงทำได้ง่ายขึ้นและยังให้ประสิทธิผลด้านอื่นๆ ดังต่อไปนี้ด้วย ขณะนี้ผู้ผลิตกำลังพิจารณาว่าจะเปลี่ยนไปใช้โรโบซิลินเดอร์กับเครื่องทั้ง 170 ชุดที่มีในโรงงานได้หรือไม่
ลดระยะเวลาการทำงาน | 2.84 วินาที 1.79 วินาที |
---|---|
ลดการใช้ไฟฟ้าทั้งปี | 4,073 เยน 1,365 เยน |
ลดการปล่อยก๊าซ CO2 ทั้งปี | 88.2kg19.7kg-C |
ปริมาณก๊าซ CO2 ที่จะปล่อยออกมาตลอดทั้งปี กรณีนำไปเปลี่ยนแทนเครื่องที่ใช้แรงดันลมทั้งหมดในโรงงาน | 15t-C3.35t-C |
โรโบซิลินเดอร์แบบมีก้าน (Rod) ถูกนำไปใช้กับเครื่องที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายและนำแผงวงจรแก้วออกจากกระบวนการแมชชีนนิ่ง
แต่เดิมที่กระบวนการนี้จะใช้กระบอกลม ดังรูปที่ (1) - (4) แต่เมื่อเปลี่ยนมาเป็นโรโบซิลินเดอร์ สามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลงได้
ตอนใช้แรงดันลม | หลังติดตั้งใช้งานโรโบซิลินเดอร์ |
---|---|
ปริมาณแรงลมที่ใช้ต่อ 1 รอบ (Cycle) : 0.0924Nm3 [เงื่อนไข] ・ไซเคิลไทม์เฉลี่ย:70 วินาที ・ระยะเวลาที่เครื่องทำงาน:9 ชม./วัน, 240 วัน/ปี ปริมาณลมที่ใช้ทั้งปี:10,263Nm3 |
ปริมาณไฟฟ้าที่เครื่องใช้ใน 1 วัน:1.32 กิโลวัตต์/วัน ปริมาณไฟฟ้าที่เครื่องใช้ใน 1 ปี:330 กิโลวัตต์/วัน [ประสิทธิผล] ลมอัดอากาศที่ได้จากปริมาณไฟฟ้า 330 กิโลวัตต์ เท่ากับ 3,300 (Nm3) (ให้ไฟฟ้า 1 หน่วย (กิโลวัตต์) สามารถผลิตลมอัดอากาศได้ 10 (Nm3)) 1 - (3,300Nm3 / 10,263 Nm3) = 0.68 = 68% นั่นหมายถึง สามารถลดปริมาณไฟฟ้าได้ราว 68% |